02: อำนาจหน้าที่และพื้นที่รับผิดชอบ

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่2

อำนาจหน้าที่และภารกิจของสถานีตำรวจ 
                      สถานีตำรวจ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่น
อันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญาภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง รวมถึงการรับผิดชอบในด้านการงานและการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจนครบาล(1-9) หรือตำรวจภูธรจังหวัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงภายใน บริการทางสังคม ชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การพัฒนางานบริหารและงานจเรตำรวจ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงงานกิจการพิเศษ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจ ซึ่งงานในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น 5 สายงาน ดังนี้
                    1) งานอำนวยการ
                         มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจงานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษา การฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและสรรพาวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ
  

    2) งานป้องกันปราบปราม
                         มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกันอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยงานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจ การรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ 
                   3) งานจราจร
                        มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน
                4) งานสืบสวน
                      มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวน อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ ตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ  
               5) งานสอบสวน
                      มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ.

คำสั่ง ตร. 537/2555

คำสั่ง ตร. 538/2555

พื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรย่านตาขาว

พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 259.1 ตร.กม.

เขตตรวจทั้งหมด 1 เขต

1.สายตรวจรถยนต์ (ร้อยเวร 20) รับผิดชอบพื้นในเขตอำเภอย่านตาขาว
2.สายตรวจรถ จยย. เขต 1 รับผิดชอบในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว
3.สายตรวจรถ จยย. เขต 2 รับผิดชอบในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว
4.สายตรวจป้อมออมสิน รับผิดชอบในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว
5.สายตรวจป้อมควนโพธิ์ รับผิดชอบเขตเทศบาลตำบลควนโพธิ์
6.สายตรวจป้อมทุ่งกระบือ รับผิดชอบในเขตเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ
7.สายตรวจป้อมตำบลทุ่งค่าย รับผิดชอบในตำบลทุ่งค่าย
8.สายตรวจป้อมตำบลเกาะปียะ รับผิดชอบในตำบลเกาะเปียะ
9.สายตรวจป้อมตำบลนาชุมเห็ด รับผิดชอบในตำบลนาชุมเห็ด
10.สายตรวจป้อมตำบลหนองบ่อ รับผิดชอบในตำบลหนองบ่อ

เขตติดต่อ

ด้านทิศเหนือ  ติดต่อกับ อำเภอเมืองตรังและอำเภอนาโยง
ด้านทิศใต้  ติดต่อกับ อำเภอปะเหลียน
ด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทือกเขาบรรทัดและอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกันตัง

 ตำแหน่งที่ตั้ง
อำเภอย่านตาขาวตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดตรัง ห่างจากตัวจังหวัดตรัง 25 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนตรัง-ปะเหลียน
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองตรังและอำเภอนาโยง
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอปะเหลียน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทือกเขาบรรทัดและอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกันตัง

 สภาพพื้นที่
อำเภอย่านตาขาวมีเนื้อที่ 437.2 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ ที่ราบสูงเริ่มจากทิศตะวันออกเชิงเขาบรรทัดและลาดต่ำไปทางทิศตะวันตกพื้นที่เหมาะแก่การ กสิกรรม มีที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา
ลักษณะทางภูมิอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดโดยทั่วไป อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
– ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน – มกราคม
โดยอาศัยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากอ่าวไทย พื้นที่จึงไม่ขาดแคลนน้ำในการเกษตรตลอดระยะฤดูแล้ง

 การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน ใช้การคมนาคมทางบก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน ตรัง – ปะเหลียน ระยะทาง 22 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
2. ทางหลวงแผ่นดิน ย่านตาขาว – นาโยง ระยะทาง 25 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
3. ทางหลวง รพช.ทุ่งค่าย – หนองบ่อ ระยะทาง 14 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
4. ทางหลวง รพช.ย่านตาขาว-ในควน-โพรงจระเข้ ระยะทาง 17 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
5. ทางหลวง รพช.ย่านตาขาว – ในควน-ประเหลียน ระยะทาง 12 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
6. ทางหลวง รพช.ทุ่งค่าย – กันตัง ระยะทาง 9 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
7. ทางหลวง รพช.ย่านตาขาว (คลองลำเลียง – นาโยง) ระยะทาง 6 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
8. ทางหลวง รพช.นายายหม่อม – ต้นปรง ระยะทาง 15 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
9. ทางหลวง รพช.ย่านตาขาว – ท่าบันได ระยะทาง 13 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
10. ทางหลวง รพช.กะช่อง – ปะเหลียน ผ่านตำบลย่านตาขาว ตำบลโพรงจระเข้ ระยะทาง 15 กิโลเมตร ลาดยางตลอด
 การปกครอง
อำเภอย่านตาขาว แบ่ง เขตการปกครองได้ ดังนี้
1. มีหมู่บ้านตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 จำนวน 8 ตำบล 67 หมู่บ้าน
1. ตำบลย่านตาขาว มี 5 หมู่บ้าน 2. ตำบลหนองบ่อ มี 6 หมู่บ้าน
3. ตำบลนาชุมเห็ด มี 9 หมู่บ้าน
4. ตำบลในควน มี 10 หมู่บ้าน
5. ตำบลโพรงจระเข้ มี 7 หมู่บ้าน
6. ตำบลทุ่งกระบือ มี 9 หมู่บ้าน
7. ตำบลทุ่งค่าย มี 11 หมู่บ้าน
8. ตำบลเกาะเปียะ มี 10 หมู่บ้าน
2. มีหมู่บ้านตาม พ.ร.บ. อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.) จำนวน 47 หมู่บ้าน
3. มีเทศบาล จำนวน 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลย่านตาขาว จำนวน 2,198 ครัวเรือน
4. มีองค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง

 ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในอำเภอย่านตาขาวนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยดั้งเดิมและคนไทยเชื้อสายจีน คือในกลุ่ม หมู่เขา หมู่ทุ่ง และหมู่ตลาด รองลงมาเป็นศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่ คือ หมู่ชาวเล นอกจากนั้นก็มีศาสนาอื่นบ้าง เช่น ศาสนาคริสต์

1) พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2567

2) กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไป ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2567

3) ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ